คนจนในไทยมีมากแค่ไหน ‘สภาพัฒน์’เปิดข้อมูลสำคัญหลายด้าน

สำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดที่เรียกว่า ‘ดัชนีความยากจนหลายมิติ’ ขึ้น เพื่อใช้วัดคนจนในมิติอื่นๆ โดยวัดผ่าน 4 มิติ คือ มิติด้านการศึกษา มิติการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ มิติความเป็นอยู่ และมิติด้านการเงิน ซึ่งแต่ละมิติมีการกำหนดตัวชี้วัดไว้ 3 ตัวชี้วัด รวมเป็น 12 ตัวชี้วัด

น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการ สศช. ระบุว่า หากใช้ตัวชี้วัดความยากจนหลายมิติเทียบกับความยากจนที่วัดผ่านเกณฑ์รายได้ พบว่า ปี 64 วัดฝั่งรายได้จะมีเพียง 4.4 ล้านคน แต่ถ้าเอาดัชนีความยากจนหลายมิติมาวัด พบว่า มีคนจนสูงถึง 8.1 ล้านคน ซึ่งมิติสำคัญที่พบมากสุด คือ มิติด้านความเป็นอยู่มีสูงถึง 35% รองลงมากคือมิติความมั่นด้านการเงิน 29% เป็นสัดส่วนที่ทำให้คนมีความยากจนมากสุดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ หากมองความยากจนได้ขยายความยากจนครอบคลุมถึงการขาดแคลน ขัดสน หรือโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีพตลอดจนความสามารถในการเข้าถึงบริการและการช่วยเหลือของภารัฐ โดยปี 64 ยังพบว่า มีประเด็นปัญหาต่างๆ ที่คนจนได้รับผลกระทบ เช่น การศึกษาที่มีเด็กหลุดออกจากระบบถึง 2.8 แสนคน

ส่วนด้านสุขภาพพบคนไทยมีความเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงเกิดการฆ่าตัวตาย ขณะเดียวยังพบปัญหาโอกาสการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในช่วงโควิด-19 แม้กระทั่งความเป็นอยู่ที่ยังมีปัญหาของคนไร้บ้าน ปัญหาขยะติดเชื้อที่มีปริมาณค่อนข้างสูง หลักประกันทางด้านรายได้ที่ยังเป็นปัญหา เนื่องจากกลุ่มคนบางกลุ่มยังขาดรายได้และไม่มีเงินออม

น.ส.วรวรรณ กล่าวว่า หากใช้ตัวชี้วัดหลายมิติหรือเอ็มพีไอ สามารถแบ่งตามพื้นที่ดังนี้ คือ คนที่อยู่นอกเขตเทศบาล มีความจนหลายมิติมากกว่า ในสัดส่วน 18% เมื่อเทียบกับเทศบาลที่มีเพียง 6.6% เท่านั้น ขณะเดียวกันคนจน 1 ใน 3 จะเป็นผู้สูงอายุถึง 36.9% นอกจากนั้น ยังพบว่ากลุ่มที่ไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (เด็ก ผู้ว่างงาน คนชรา คนป่วย) สูงถึง 51.5% และแรงงานนอกระบบ 21%  ขณะเดียวกัน คนจนหลายมิติที่ไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากปี 56 ที่มี 29.3% โดยเพิ่มขึ้น 51.5% ในปี 64 สะท้อนให้เห็นว่าคนจนมีโอกาสในการหารายได้ต่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาความยากจนด้านตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินก็ได้

สถานการณ์ความยากจนเมื่อวัดจากเส้นความยากจน (คนจน) ในปี 64  มีคนจนจำนวน 4.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 16.32% ลดลงจากปีก่อนที่มีจำนวน 4.7 ล้านคน คิดสัดส่วน 6.83% ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้สถานการณ์ความยากจนปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีมาตรการช่วยเหลือขอรัฐ เช่น โครงการเพิ่มกำลังซื้อผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 และโครงการบรรเทาค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น มาตรการบรรเทาค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า

You May Also Like

More From Author