มุมภาษี – ภาษีบุคคลธรรมดาโอนหุ้นราคาต่ำกว่าทุน

นาย ก ซื้อหุ้นมาในราคา  10,000,000 บาท จากนั้นขายหุ้นให้แก่บริษัท ข ราคาเพียง 1,000,000 บาท เหตุผลที่ขายต่ำกว่าราคาทุนเนื่องจาก นาย ก เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ข เช่นกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

จึงขอสอบถามว่า กรณีดังกล่าวจะถือเป็นการโอนหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ จากการสืบค้นเบื้องต้น พบเพียงว่าในกรณีผู้โอนเป็นบุคคลธรรมดาเจ้าพนักงานประเมิณมีอำนาจประเมินราคาตลาดได้เฉพาะมาตรา 40 (5) [กรณีคิดค่าเช่าต่ำกว่าราคาที่สมควรให้เช่าตามปกติ] และมาตรา 49 ทวิ [การโอนอสังหาริมทรัพย์] แต่ไม่พบว่ามีมาตราที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินราคาซื้อขายตามราคาตลาดในกรณีการโอนหุ้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ต่างจากมาตรา 65 ทวิ (4) ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกรณีที่นิติบุคคลโอนทรัพย์สินในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ตามบทบัญญัติว่าด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามส่วน 2 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดารับรู้เงินได้พึงประเมินตามเกณฑ์เงินสด และมิได้บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะประเมินเงินได้พึงประเมินเพิ่มขึ้น ให้เป็นไปตามราคาตลาด ณ วันที่เกิดกิจกรรม ดังเช่นกรณีเงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร แม้จะได้กำหนดให้นำตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เป็นเฉพาะการคำนวณต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น มิได้เกี่ยวกับประเด็นทางด้านรายได้แต่อยางใด

ดังนั้น กรณีนาย ก ซื้อหุ้นมาในราคา 10,000,000 บาท จากนั้นขายหุ้นให้แก่บริษัท ข ราคาเพียง 1,000,000 บาท โดยนาย ก เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ข เช่นกัน นั้น เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะทำการประเมินเงินได้ของนาย ก เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม มองในอีกแง่มุมหนึ่ง บริษัท ข ที่รับซื้อหุ้นจากนาย ก ก็จะมีต้นทุนเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น หากต่อมาบริษัท ข ขายหุ้นในราคาที่สูงกว่า ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากส่วนเกินทุน (Capital Gain) ที่ได้เนื่องจากกิจการที่ทำในรอบระยะเวลาบัญชี.

You May Also Like

More From Author