นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!

เมื่อพูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของโลกหนึ่งในประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงมานานกว่า 20 ปีแล้วคือ “โลกได้ก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ในทางธรณีวิทยาแล้วหรือยัง?”

ยุคสมัยทางธรณีวิทยา (Geological Period) คือ การนับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของโลก โดยใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้นใหญ่ ๆ คือ บรมยุค (Eon), มหายุค (Era), ยุค (Period) และสมัย (Epoch)

ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือคำเรียกยุคไดโนเสาร์ที่เราคุ้นชินอย่าง ไทรแอสสิก จูราสสิก และครีเทเชียส ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ชื่อจำแนกยุคไดโนเสาร์ แต่เป็นชื่อสมัยทางธรณีวิทยาต่างหาก

ซึ่งสมัยทางธรณีวิทยาของโลกในปัจจุบันคือ “โฮโลซีน” (Holocene) เริ่มนับตั้งแต่ราว 11,700 ปีก่อน เมื่อยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์ และได้ชื่อว่าเป็น “สมัยแห่งความอบอุ่น”

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า กิจกรรมของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงต่อโลกทั้งทางธรณีวิทยา บรรยากาศ และชีววิทยา จนทำให้โลกเข้าสู่สมัยทางธรณีวิทยาใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ “แอนโทรโพซีน” (Anthropocene) แล้ว

แอนโทรโพซีนจะเป็นสมัยที่ระบบสภาพภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากมนุษย์ เป็นสิ่งที่โลกของเราไม่เคยสัมผัสมาก่อน และคาดว่าจะนำโลกไปสู่การมีรูปแบบฤดูกาลและสภาพอากาศรูปแบบใหม่

ชื่อสมัย“แอนโทรโพซีน”นี้ มีที่มาจากคำว่า แอนโทรโพ- ซึ่งแปลว่า “มนุษย์” เพื่อบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า นี่คือยุคสมัยที่เกิดจากฝีมือมนุษย์

เมื่อวานนี้ (11 ก.ค.) สมาชิกของ Anthropocene Working Group (AWG) ได้นำเสนอหลักฐานการเปลลี่ยนแปลงในทะเลสาบในออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นหลักฐานที่พวกเขาเชื่อว่า สามารถช่วยระบุ “วันแรก” หรือ “Day 1” ของสมัยแอนโทรโพซีนได้

โคลอน วอเตอร์ส นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประธานกลุ่ม AWG กล่าวว่า “ค่อนข้างชัดเจนว่า ระดับของการเปลี่ยนแปลงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และนั่นจะต้องเป็นผลกระทบต่อมนุษย์”

เขาอธิบายว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์นั้น “ไม่เพียงแค่ ‘มีอิทธิพล’ ต่อโลกอีกต่อไป แต่แท้จริงแล้วมันคือการ ‘ควบคุม’”

การค้นพบนี้อยู่ในทะเลสาบครอว์ฟอร์ด ซึ่งอยู่ห่างจากโตรอนโตไปทางตะวันตกประมาณ 60 กม. โดยจากการศึกษาตะกอนที่สะสมอยู่ที่ก้นทะเลสาบ สามารถให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางธรณวิทยาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ลักษณะที่ลึกเป็นพิเศษของทะเลสาบครอว์ฟอร์ดช่วยให้ตะกอนลอยลงด้านล่างได้โดยไม่ถูกรบกวน ทำให้เกิดชั้นดินชั้นหินที่สามารถจับร่องรอยทางสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้

ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถบันทึกสิ่งที่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในสภาพของโลกเชิงธรณีวิทยา” ได้ในชั้นตะกอน โดยพบการปรากฏตัวของพลูโทเนียมในตะกอนทะเลสาบ ซึ่งพลูโทเนียมเป็นธาตุที่แทบจะไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปว่า มันมาจากการทดสอบนิวเคลียร์ในช่วงทศวรรษที่ 1950

วอเตอร์สกล่าวว่า นี่เป็น “เครื่องหมายที่ชัดเจน” สำหรับการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยไปสู่แอนโทรโพซีน โดยเขาและสมาชิกคนอื่น ๆ ของ AWG ได้เสนอให้การเริ่มต้นของสมัยใหม่อยู่ระหว่างปี 1950-1954

หากได้รับการยอมรับ จะถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคโฮโลซีน “เห็นได้ชัดว่าพื้นฐานทางชีววิทยาของโลกเปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน เราไม่สามารถกลับไปเป็นสมัยโฮโลซีนได้อีกแล้ว” วอเตอร์สกล่าว

 นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!

แต่แนวคิดเรื่องสมัยแอนโทรโพซีนนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ทันถูกเสนอครั้งแรกโดย พอล ครูตเซน นักเคมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลเมื่อ 20 ปีที่แล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

AWG วางแผนที่จะส่งหลักฐานการค้นพบนี้ไปยัง International Commission on Stratigraphy ซึ่งมีหน้าที่ในการตั้งชื่อยุคสมัยทางธรณีวิทยาของประวัติศาสตร์โลก โดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์หลายคนจะต้องลงคะแนนเสียงเพื่อรับรองแอนโทรโพซีน จึงจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

เรียบเรียงจาก Al Jazeera / CNN

ภาพจาก AFP

You May Also Like

More From Author